อินเตอร์เน็ต Internet
เป็นเครือข่ายการสื่อสารที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมดรวม
ป็นเครือข่ายเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งในด้านการติดตามข่าวสาร, ติดต่อสื่อสารกัน
เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานแต่หารู้ไม่ว่า
ถ้าใช้อินเตอร์เน็ตในด้านที่ไม่ถูกไม่ควรก็อาจส่งผลเสียมายังตัวเราได้
แต่ก่อนจะพูดถึงผลกระทบของอินเตอร์เน็ตเรารู้มั้ยค่ะ
ว่าอินเตอร์เน็ตมีความเป็นมายังไง และใครเป็นคนคิดค้นเทคโนโลยีนี้
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปีคริสต์ทศวรรษ
1950-1960 ยุคก่อนการแพร่หลายของการเชื่อต่อระหว่าเครือข่าย
เครือข่ายการสื่อสารในสมัยนั้น ส่วนมากจะมีข้อจำกัดในตัวเอง คือ
สามารถทำการสื่อสารได้เฉพาะระหว่างสถานีที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น
โดยมีวิธีการเชื่อมมาจากพื้นฐานการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เมนเฟรม คือ
การติดต่อสื่อสารกันระหว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายเช่า
ในระหว่างนั้นโลกของเราตกอยู่ท่ามกลางสงครามนิวเคลียร์
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริการก็ไม่หวาดหวั่นจึงเริ่มก่อตั้งโครงชื่อว่า “อาร์พาเน็ต” เรียกสั้นๆว่า อาร์พา (ARP
: Advanced Research Project Agency)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิจัยด้านทหาร
หลังจากประสบผลสำเร็จจากเครือข่ายทดลองก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ดาร์พา” (DARPA : Defense Advanced Research Project Agency)
ในปี 1975
อาร์พาเน็ตก็ได้ขึ้นตรงกับหน่วยงานสื่อสารของกองทัพ ต่อมาในปี 1983 อาร์พาเน็ตได้แบ่งงานวิจัยออกเป็น
2 เครือข่าย โดยส่วนแรกใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม
แต่ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Military Network)
ซึ่งมีการใช้ โพรโตคอลTCP/IP
เป็นครั้งแรก จากนั้นมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกาได้สนุบสนุบสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน
6 แห่ง ภายใต้ชื่อว่า NSFNET (Nationnal
Science Foundation Network) และได้ยุติอาร์พาเน็ตลงในปี 1990
แล้วเปลี่ยนไปใช้ NSFNET
และเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต มาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับประเทศไทย
อินเตอร์เน็ตได้เริ่มเข้ามาเมื่อปี 1987 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีน (AIT)
และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
ประเทศออสเตรเลีย แต่ยังเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ซึ่งการส่งข้อมูลยังทำได้ช้าและไม่ถาวร
จนกระทั่งในปี 1992 ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(NECTEC) ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6
แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย
(AIT), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลงขลานครินทร์
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมเข้าด้วยกันเรียกว่า “เครือข่ายไทยสาร”